เมนู

ปฏิบัติเพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้
ผู้นั้นยังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฏฐินั้น ต้องดิ่งลง
ในนรกแน่แท้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปเถิด พระเจ้าข้า.
จบ กุลสูตรที่ 8

อรรถกถากุลสูตรที่ 9



ในกุลสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้ยาก. บทว่า ทฺวีหิติกา
ความว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ว่า พวกเราจักมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หนอ.
ปาฐะว่า ทุหิติกา ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนี้แหล่ะ ชื่อว่า ทุหิติกา
ในข้อว่าเป็นอยู่ลำบาก นี้เพราะไม่อาจประกอบการงานอะไร ๆ ได้สะดวก
ชื่อว่า เสตฏฺฐิกา เพราะมีกระดูกของคนที่ตายในที่นั้น ๆ ขาวเกลื่อนกลาด.
บทว่า สลากวุตฺตา ได้แก่มีชีวิตอยู่ได้เพียงใช้สลาก (บัตรปันส่วน) คือ
ความเป็นอยู่ในนาฬันคามนั้น เพียงใช้สลากเท่านั้น อธิบายว่า ให้เกิดผล.

บทว่า อุคฺคิลิตุํ ความว่า เมื่อพระสมณโคดมไม่อาจกล่าวแก้เงื่อนทั้งสองได้
ชื่อว่าไม่อาจคายคือนำออกนอก. บทว่า โอคิลิตุํ ความว่า เมื่อทรงเห็น
โทษของคำถามแล้วไม่อาจนำเข้าไป ชื่อว่าไม่อาจกลืนคือให้เข้าไปภายใน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า อิโต โส คามณิ เอกนวุโต
กปฺโป
เท่านั้น ก็ทรงระลึกไป 1 กัป ชั่วเวลาที่ลมหายใจออกจากจมูก
แล้วยังไม่กลับเข้าไป เพื่อกำหนดรู้ว่า ในตระกูลที่เคยถูกเบียดเบียนด้วยการ
ให้ภิกษาที่สุกแล้ว มีบ้างไหมหนอถึงอย่างนั้น ก็มิได้ทรงเห็นแม้แต่รายเดียว
จึงตรัสพระพุทธพจน์เป็นต้นว่า อิโต โส คามณิ ดังนี้. บัดนี้ เมื่อตรัส
อานิสงส์ของทานเป็นต้น จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนาว่า อถโข ยานิ
ตินิ กุลานิ อทฺธานิ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานสมฺภูตานิ
แปลว่า เป็นพร้อมคือบังเกิดเพราะการให้ทาน. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในบทนี้ ความเป็นคนพูดจริง ชื่อสัจจะ ศีลที่เหลือ
ชื่อ สัญญมะ. บทว่า วิกิรติ ความว่า เมื่อได้แต่ใช้โดยไม่ประกอบการงาน
ย่อมทำทรัพย์ให้กระจุยกระจาย. บทว่า วิธมติ ความว่า ย่อมให้พินาศ
เหมือนจุดไฟเผา. บทว่า วิทฺธํเสติ ความว่า ให้พินาศ คือเป็นของเที่ยง
คงที่หามิได้ หรือทรัพย์ที่ใช้เวลาเป็นอันมากเก็บรวบรวมไว้ อันตรธาน
ไปชั่วขณะเท่านั้น เพราะมีแล้วไม่มี.
จบ อรรถกถากุลสูตรที่ 9

10. มณิจูฬกสูตร



ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร



[623] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล เมื่อราช
บริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควร
แก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองสละเงิน ย่อมรับทอง
และเงิน.
[624] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัท
นั้น นายบ้าน นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญย่อมไม่
กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่
ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง
ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.
[625] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงิน
ย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อ
ราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณ-
ศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตร